โครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันภัยจากวัตถุระเบิด ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์

โครงการอบรมให้ความรู้การป้องกันภัยจากวัตถุระเบิดแก่นักเรียนบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
เริ่มเดินหน้าอีกครั้งหลังประสบปัญหารอการสนับสนุนจากแหล่งทุน ในเวลาที่ชะลอการอบรมนั้น ก็ได้เกิด
เหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารไทยและกัมพูชาบริเวณแนวชายแดนของ 2 ประเทศในพื้นที่ของจังหวัด
ศรีสะเกษ  และสุรินทร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนเมษายน  2554 ที่ผ่านมา  น่าจะเป็นการเพิ่มอันตราย
จากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิดแก่ราษฎรมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ ราษฎรยังคงต้องเสี่ยงภัยอันตรายทั้งจากทุ่นระเบิด
ที่ยังหลงเหลือตกค้างจากสงครามกลางเมืองในกัมพูชาเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ยังคงรอการเก็บกู้อีกมากและจาก
ทุ่นระเบิดที่ฝังใหม่

ด้วยคำนึงถึงภัยอันตรายจากภัยเงียบที่ฝังอยู่ใต้ดินเหล่านี้ โคเออร์สำนักงานสุรินทร์จึงได้เริ่มเดินหน้าโครงการ
ให้ความรู้การป้องกันภัยจากวัตถุระเบิดขึ้นแก่นักเรียนตามโรงเรียนต่างๆในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์
โดยในช่วงวันที่ 22-25 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา มีนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
4 โรงเรียนที่ได้รับการอบรม รวมทั้งสิ้น 514 คน ครูจำนวน 19 คน


นักเรียนโรงเรียนบ้านโอทะลัน อำเภอบัวเชด กำลังฟังการบรรยายจากวิทยากรอย่างตั้งอกตั้งใจ

เนื้อหาการอบรมนั้นนอกจากจะมีการอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของระเบิด ชนิดและประเภทของระเบิดแล้ว ยังมีการให้ความรู้เรื่องวิธีป้องกันอันตรายของระเบิด  ตลอดจนพื้นที่ต้องสงสัยที่จะมีทุ่นระเบิดฝังอยู่  เพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดความตระหนักถึงภัย รู้จักหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้ แต่หากพบเห็น ก็จะต้องมีการทำเครื่องหมายมิให ้
ผู้อื่นเข้าใกล้ แล้วกลับมาเล่าให้กับผู้ปกครอง ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีหน้าที่รายงานต่อหน่วยทหารเพื่อให้ทำการเก็บกู้โดยทันที


การอบรมนักเรียนที่โรงเรียนบ้านโอทะลัน อำเภอบัวเชด
โดยเด็ก ๆ กำลังสังเกตภาพวัตถุระเบิดและจดบันทึกข้อมุล

ในการอบรมครั้งนี้ สำนักงานโคเออร์ได้รับการสนับสนุนแผ่นป้ายที่เกี่ยวข้องกับความรู้ จากองค์กรแฮนดิแคป อินเตอร์เนชั่นแนล (HI)

ในการอบรมครั้งนี้ สำนักงานโคเออร์สุรินทร์ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากผู้อำนวยการ และครูของแต่ละโรงเรียนที่เห็นความสำคัญของอันตรายจากทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิด


รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจรัส อำเภอบัวเชด กล่าวเปิดการอบรมความรู้แก่เด็กนักเรียนและครู


การอบรมนักเรียนที่โรงเรียนบ้านจรัส อำเภอบัวเชด

ในการอบรมครั้งนี้นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อให้ตัวเด็กนักเรียนเองมีความรู้เกี่ยวกับอันตราย และวิธีป้องกันภัยจากทุ่นและวัตถุระเบิดแล้ว ยังมีการแจกคู่มือซึ่งจัดทำเป็นรูปการ์ตูนบอกเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เด็กนำไปถ่ายทอดแก่ครอบครัว คือผู้ปกครอง ญาติ และเพื่อนบ้านในชุมชนของตนอีกด้วย


การอบรมนักเรียนที่โรงเรียนบ้านจรัส อำเภอบัวเชด

เพื่อให้การอบรมไม่เป็นที่น่าเบื่อ มีการฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับภัยจากทุ่นระเบิด เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติการสูญเสียดินแดนไทยในอดีตอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรักและ
หวงแหนถิ่นกำเนิด


นักเรียนโรงเรียนบ้านโนนทอง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์กำลังดูสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับ
การเสียดินแดนของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ก่อนและหลังการอบรม จะมีการทดสอบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทุ่นระเบิดและวัตถุระเบิด ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าทั้งก่อนและหลังการอบรมนักเรียนมีการรับรู้มากน้อยเพียงใด


การอบรมนักเรียนที่โรงเรียนบ้านโนนทอง อำเภอกาบเชิง
ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่อำเภอติดชายแดนของจังหวัดสุรินทร์


การอบรมนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ ในอำเภอกาบเชิงเช่นกัน


รูปนักเรียนและครูที่ร่วมรับการอบรม โรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ อำเภอกาบเชิง

จากสถิติของศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ เท่าที่มีการเก็บสถิติผู้ประสบภัยจากทุ่นและวัตถุระเบิด
ในประเทศไทย มีจำนวนถึง 1,252 คน และตั้งแต่ปี 2552 มีผู้ประสบภัยถึง 48 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 2 ราย ส่วนผู้ที่รอดชีวิต 11 รายต้องกลายเป็นผู้พิการด้อยโอกาส ดังนั้น โครงการอบรมป้องกันภัยจากวัตถุระเบิดของ
โคเออร์จึงมีความจำเป็น เพื่อให้ราษฏรและเด็กนักเรียนชายแดนเกิดความตระหนักและรู้จักป้องกันตนเองเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย หรือเมื่อเผอิญพบวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุระเบิด

จังหวัดสุรินทร์ แบ่งเขตการปกครองเป็น 17 อำเภอ มีประชากรรวม 1,381,761 คน (กระทรวงมหาดไทย
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553) แบ่งเป็นชาย 691,425 คน เป็นหญิง 690,226 คน อาณาเขตด้านทิศใต้ ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา กินพื้นที่ 4 อำเภอ คือ บัวเชด สังขะ กาบเชิง และพนมดงรัก ซึ่งมีความยาวตลอดแนว
ชายแดนร่วมกันประมาณ 90 กิโลเมตร